Programming Inspiration Ep.1 Armin Ronacher

stackpython
3 min readOct 27, 2019

--

หลังจากเคยคิดอยู่นานว่าอยากทำบทความแนวให้ความรู้และเป็นแรงบันดาลใจ และวันนี้ก็ไม่รีรอ ขอเปิดตัวเอพิโสดแรกกับอีกหนึ่งซีรี่ย์ ที่มีชื่อว่า “Programming Inspiration” โดยที่ผมได้ทำซีรี่ย์นี้ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์หลักที่สำคัญสุดเลยก็คือ อยากเสาะแสวงหาแรงบันดาลใจต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรมจากโปรแกรมเมอร์ชื่อดัง จากทั่วทุกมุมโลก เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนโปรแกรมให้กับโปรแกรมเมอร์มือใหม่หรือไม่ว่าจะเป็นมือเก่าก็สามารถเข้ามาเสพเอาแรงบันดาลใจได้เช่นกันครับ โดยสไตล์การเขียนผมจะไม่เน้นทางการมาก จะเป็นในรูปแบบเพื่อน เล่าเรื่องให้เพื่อนฟังเสียมากกว่า ถ้าคำไหนที่ฟังดูไม่เหมาะสม ผมก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ครับ

โดยบุคคลแรกในการประเดิมเอพิโสดแรก คือ Armin Ronacher เขาคนนี้คือใคร ไปดูข้อมูลคร่าว ๆ จากภาพด้านล่างกันก่อนเลยครับ

Short Bio

พ่อหนุ่ม Armin Ronacher แกเกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1989 (ยังหนุ่มอยู่เลยแต่โคตร Genius) เป็นชาวออสเตรีย (ออสเตรียกับออสเตรเลียเป็นคนละประเทศกันนะครับ) ซึ่งมาจากประเทศเดียวกันกับ Mozart นักประพันธ์และนักดนตรีตำนานของโลก (อันนี้หลายคนก็น่าจะรู้จักกันดีครับ)

โดยเขาผู้นี้เป็นผู้สร้างเฟรมเวิร์คชื่อดังในด้าน Web Development ของภาษาไพธอน นั่นก็คือเฟรมเวิร์คที่มีชื่อว่า “Flask” เชื่อว่าอ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ หลาย ๆ คนก็น่าจะใช้เฟรมเวิร์คตัวนี้อยู่ ซึ่งผมเองก็เช่นกัน

Ronacher เริ่มอาชีพของเขาโดยการเป็นฟรีแลนซ์ เดฟ (Freelance Developer) ในคอมมิวนิตี้ German Ubuntu และในภายหลังเขาได้มาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้ง German Ubuntu Association ในปี ค.ศ. 2005

ในขณะที่ทำงานอยู่ใน ubuntuusers พ่อหนุ่ม Ronacher แกได้รู้จักกับภาษาไพธอนและได้ทำการเขียนไลบรารี่ตัวหนึ่งสำหรับ WSGI (Web Server Gateway Interface) โดยเป้าหมายเพื่อให้ทำงานร่วมกันกับบอร์ดที่เขาได้พัฒนาร่วมกันกับ Georg Brandl โดยบอร์ดตัวนี้มีชื่อว่า “Pocoo” และถูกแทนที่ด้วย phpBB ในภาษาไพธอน

บอร์ดที่เขาได้พัฒนาในขณะนั้น ยังไม่มีทีว่าจะปล่อยออกมาในเวอร์ชั่นที่พร้อมใช้งาน (Stable Release Version) หลาย ๆ โปรเจคท์ ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในโปรเจคท์ Pocoo

เมื่อวันหนึ่งในปี ค.ศ. 2010 ซึ่งตรงกับวัน April Fools’ Day พอดิบพอดี เขาได้ปล่อยเฟรมเวิร์คขึ้นมาหนึ่งตัว ซึ่งต่อมากลายเป็นหนึ่งในเฟรมเวิร์คด้าน Web Development ที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในภาษาไพธอน(ถัดจาก Django) เฟรมเวิร์คที่ว่าก็คือ “Flask” (ฟลาช) ซึ่งเป็นไมโครเฟรมเวิร์ค ซึ่งเหมาะในการสร้างเว็บแอพจาก Scratch และได้สร้างไลบรารี่ที่เกี่ยวข้องกับเฟรมเวิร์คตัวนี้ขึ้นมาหลายตัวเช่น (ขอยกมาทั้งหมดเลยแล้วกันนะครับรวมทั้ง Flask)

  1. Flask

Short Definition: The Python micro framework for building web applications.

Github Star: 47.2 k

Github Fork: 13 k

2. Click

Short Definition: Python composable command line interface toolkit

Github Star: 8.3 k

Github Fork: 818

3. Jinja

Short Definition: A very fast and expressive template engine.

Github Star: 6.6 k

Github Fork: 1.3 k

4. werkzeug

Short Definition: The comprehensive WSGI web application library.

Github Star: 5 k

Github Fork: 1.4 k

5. redis-rs

Short Definition: Redis library for rust.

Github Star: 1.2 k

Github Fork: 182

6. Indicatif

Short Definition: A command line progress reporting library for Rust.

Github Star: 1.2 k

Github Fork: 67

หมายเหตุ

“Star” เป็นตัวบ่งบอกความนิยมของเฟรมเวิร์คหรือไลบรารี่นั้น ๆ ใน Github อีกทั้งเราสามารถกด star ให้กับโปรเจคท์ที่ชื่นชอบ และโปรเจคท์นั้นจะทำให้เราค้นเจอได้ง่ายขึ้นในภายหลัง คล้ายกันกับเรากดติดดาวเพื่อนของเราในเฟสบุ๊ค หรือ เห็นเป็นอันดับแรก(See First) นั่นเอง

About stars

“You can star repositories to keep track of projects you find interesting”

Github.com

About Fork

“A fork is a copy of a repository. Forking a repository allows you to freely experiment with changes without affecting the original project.”

Github.com

นอกจากนี้เขายังได้สร้าง Lektor CMS (CMS: Content Management System)

ซึ่งเป็น CMS ที่เขียนด้วยภาษา Python และ Node.js

“A flexible and powerful static content management system for building complex and beautiful websites out of flat files — for people who do not want to make a compromise between a CMS and a static blog engine”

getlektor.com

Ronacher ยังเป็นนักพูดที่ได้ไปทำการบรรยายบ่อยครั้งในงาน Open Source Conferences ทั่วโลก อีกด้วย ตัวอย่างงานที่เขาได้ไปบรรยาย

ตัวอย่างงาน Conferences

Armin Ronacher, “Flask for Fun and Profit”, PyBay2016

Armin Ronacher — A Python for Future Generations

How Python was Shaped by leaky Internals, Armin Ronacher, Flask framework

สรุป

  1. เป็นผู้สร้าง Flask
  2. สร้างไลบรารี่ต่าง ๆ มากมาย ที่มีชื่อเสียง เช่น Click, Jinja, Wergzeug, etc.
  3. เป็นชาวออสเตรียน
  4. อายุยังไม่มาก
  5. เดินทางไปพูดที่งาน Open Source Conference ทั่วโลก

ด้วยอายุยังหนุ่มยังแน่นเพียงเท่านี้ แต่ได้สร้างเฟรมเวิร์คและไลบรารี่ที่มีชื่อเสียงมากมายที่ได้ Contributed เป็นโอเพ่นซอร์ส ดังนั้นความคิดที่เคยคิดว่า คนที่เทพ ๆ ด้านการเขียนโปรแกรมและสามารถสร้างเฟรมเวิร์คหรือไลบรารี่ดัง ๆ ขึ้นมาได้มากมายขนาดนี้ ต้องเป็นคนที่ผ่านการเขียนโปรแกรมมายาวนานนับ 20–30 ปี ได้หายออกไปในหัวทันทีเลยครับเมื่อได้มาเจอเขาคนนี้

บทความต่อไปใน Ep.2 Inspirational Programmer จะเป็นใคร ติดตามกันได้เลยครับ อีกเช่นเคยถ้ากดปรบมือให้ก็จะขอบคุณมาก หรือมีข้อเสนอแนะ อยากให้เขียนถึงใคร ก็จะยิ่งขอบคุณมากครับ

This article is written by: [Sonny STACKPYTHON]

References

--

--

stackpython
stackpython

No responses yet